วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

พระเจ้ายอนซัน (พระราชาอีกองค์ที่น่าอ่านประวัติ)

องค์ชายยอนซัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์ชายยอนซัน
พระบรมนามาภิไธยพระปรมาภิไธย ลี ยุง (이융, 李㦕)องค์ชายยอนซัน
พระอิสริยยศ กษัตริย์แห่งเกาหลี
ราชวงศ์ โชซอน
ครองราชย์ ค.ศ. 1494-ค.ศ. 1506
ระยะครองราชย์ 10 ปี
รัชกาลก่อนหน้า พระเจ้าซองจง
รัชกาลถัดไป พระเจ้าจุงจง
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ ค.ศ. 1476
สวรรคต ค.ศ. 1506
พระราชบิดา พระเจ้าซองจง
พระราชมารดา พระมเหสีแจฮยอน จากตระกูลยุน (อดีตมเหสีในพระเจ้าซองจง)
พระมเหสี พระมเหสีวอนซาน ตระกูลชิน
ด • พ • ก
องค์ชายยอนซัน หรือ องค์ชายยอนซาน (เกาหลี: 연산군, ฮันจา: 燕山君, MC: Yeonsangun, MR: Yŏnsan'gun ค.ศ. 1476 - ค.ศ. 1506) เป็นกษัตริย์องค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์โชซอน (ค.ศ. 1494 - ค.ศ. 1506) ทรงได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์เกาหลีที่อื้อฉาวที่สุด รัชสมัยของพระองค์มีแต่ความวุ่นวาย จนทรงถูกกระทำรัฐประหารยึดอำนาจในค.ศ. 1506 ทรงถูกถอดพระยศจากกษัตริย์ลงมาเป็นองค์ชายธรรมดา และไม่ได้รับพระนามที่พระสุสาน
องค์ชายยอนซันประสูติเมื่อค.ศ. 1476 เป็นพระโอรสของพระเจ้าซองจงกับพระมเหสีจากตระกูลยุน เรียกว่า วอนจา (원자, 元子) คือ พระโอรสองค์แรกที่ประสูติแต่พระมเหสี แต่พระราชมารดาทรงได้ชื่อว่ามีความหึงหวงอย่างมากและด้วยความกดดันจากพระพันปีอินซู พระอัยกาของวอนจาจึงปลดพระมเหสียุนจากตำแหน่งและเนรเทศออกนอกวังไปในค.ศ. 1479 และถูกสำเร็จโทษไปในค.ศ. 1482 วอนจาจึงทรงอยู่ภายใต้การเลี้ยงดูของพระมเหสีองค์ใหม่ คือ พระมเหสีจองฮยอน (정현왕후, 貞顯王后) และในค.ศ. 1483 วอนจาก็ได้รับการสถาปนาเป็นองค์ชายรัชทายาท
เมื่อพระเจ้าซองจงสวรรคตในค.ศ. 1494 องค์ชายรัชทายาทจึงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ต่อไป ขุนนางที่มีอำนาจมาตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าซองจงได้แก่ยุนพิลซัง (윤필상, 尹弼商) ลีกึกดน (이극돈, 李克墩) และยูจากวาง (유자광, 柳子光) ก็ยังคงมีอำนาจต่อ ขณะเดี๋ยวกันต้องต่อสู้กับการโจมตีของขุนนางฝ่ายซาริม (사림파, 士林派)
ในค.ศ. 1498 ขณะมีการจัดทำบันทึกประวัติศาสตร์รัชกาลพระเจ้าซองจงนั้น คิมอิลซุน (김일손, 金馹孫) ขุนนางฝ่ายซาริมคนหนึ่ง ได้อ้างอิงข้อความจากหนังสือเรื่อง ความเสียใจต่อพระองค์ผู้ทรงธรรม (조의제문, 弔義帝文) ของคิมจงจิก (김종직, 金宗直) ขุนนางสมัยพระเจ้าซองจงและอาจารย์ของตน มาเขียนในบันทึกประวัติศาสตร์ว่าการยึดอำนาจของพระเจ้าเซโจจากองค์ชายโนซาน (노산군, 魯山君) นั้นไม่มีความชอบธรรม เป็นเหตุให้องค์ชายยอนซันถึงกับเปิดอ่านบันทึกประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องห้าม[1] ลีกึกดนและยูจากวางจึงทูลยุยงให้องค์ชายยอนซันทำการกวาดล้างขุนนางฝ่ายซาริมจากการกล่าวหาว่าพระเจ้าเซโจซึ่งเป็นพระปัยกีนั้นขาดความชอบธรรมในการครองราชย์ เรียกว่า การสังหารหมู่ปราชญ์ปีมูโอ (무오사화, 戊午士禍) ขุนนางและนักปราชญ์ฝ่ายซานิมจำนวนมากถูกประหารชีวิตและเนรเทศ ส่วนคนที่ตายไปแล้วเช่นคิมจงจิกนั้นก็ได้ถูกขุดศพขึ้นมาทำลาย
พระเจ้าซองจงมีรับสั่งให้ปิดเรื่องการสำเร็จโทษอดีตพระมเหสียุนเป็นความลับ แต่ในค.ศ. 1504 ลิมซาฮง (임사홍, 任士洪) และชินซูกึน (신수근, 愼守勤) ได้ทูลเรื่องนี้แก่องค์ชายยอนซัน ทำให้พิโรธมากและสั่งประหารชีวิตทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการให้ร้ายพระราชมารดาแม้เพียงเล็กน้อย เรียกว่า การสังหารหมู่ปราชญ์ปีคัปจา (갑자사화, 甲子士禍) ขุนนางผู้ใหญ่ในสมัยพระเจ้าซองจงเช่นยุนพิลซังล้วนถูกสำเร็จโทษทั้งหมด คนที่เสียชีวิตไปแล้วเช่นฮันมยองฮีก็ถูกขุดศพขึ้นมาทำลาย พระสนมของพระเจ้าซองจง คือ พระสนมควีอิน ตระกูลจอง (귀인 정씨, 貴人 鄭氏) และพระสนมควีอิน ตระกูลออม (귀인 엄씨, 貴人 嚴氏) ถูกสำเร็จโทษและนำพระศพไปทำลาย[2] รวมทั้งองค์ชายอันยาง (안양군, 安陽君) และองค์ชายพงอัน (봉안군, 鳳安君) พระอนุชาที่เป็นพระโอรสของพระสนมจอง ก็ถูกสำเร็จโทษและทำลายพระศพเช่นกัน องค์ชายยอนซันสถาปนาพระราชมารดาขึ้นใหม่เป็น พระมเหสีเจฮอน (제헌왕후, 齊獻王后) ทำให้พระหมื่นปีอินซู (인수대왕대비, 仁粹大王大妃) ไม่พอพระทัยเป็นอย่างยิ่ง เกิดการวิวาทกันจนองค์ชายยอนซันทำร้ายพระวรกายของพระหมื่นปีอินซูจนสิ้นพระชนม์
นับแต่นั้นมาราชสำนักก็เข้าสู่กลียุค ใครก็ตามที่ขัดพระทัยขององค์ชายยอนซัยแม้เพียงน้อยนิดล้วนถูกประหารชีวิต องค์ชายยอนซันทรงเลิกสนพระทัยกิจการบ้านเมืองและประพฤติตนแหลวแหลกใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ทรงให้นางโลมหรือคีแซงเข้ามาอยู่ในพระราชวังเพื่อหลับนอนและสรรหาหญิงงามจากทั่วอาณาจักร โดยเฉพาะนางโลมที่ชื่อว่า จางนกซู (장녹수, 張綠水) ซึ่งองค์ชายยอนซันแต่งตั้งให้เป็นพระสนม องค์ชายยอนซันทรงล่วงเกินภรรยาของขุนางทั้งหลาย รวมทั้งพระชายาซึงพยอง (승평부부인, 昇平府夫人) พระชายาขององค์ชายโวลซานพระปิตุลา จนพระชายาสังหารพระองค์เองหนีความอัปยศ
ในค.ศ. 1506 กลุ่มขุนนางประกอบด้วย พัควอนจง (박원종, 朴元宗 เชษฐาของพระชายาซึงพยอง) ซองฮีอัน (성희안, 成希顔) ยูซุนจอง (유순정, 柳順汀) ฯลฯ กระทำการยึดอำนาจนำทัพเข้าบุกพระราชวังคยองบก ปลดองค์ชายยอนซันลงจากบัลลังก์ ลดพระยศให้เป็นองค์ชายธรรมดามีพระนามว่า องค์ชายยอนซัน แล้วเนรเทศไปเกาะคังฮวาพร้อมกับอดีตพระมเหสี คณะรัฐประหารจึงยกองค์ชายจินซอง (진성대군, 晉城大君) พระอนุชาต่างพระราชมารดาขององค์ชายยอนซัน พระโอรสของพระมเหสีจองฮยอน ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าจุงจง เรียกเหตุการณ์นี้ว่า รัฐประหารพระเจ้าจุงจง (중종반정, 中宗反正) ไม่นานนักองค์ชายยอนซันก็สิ้นพระชนม์
[แก้]พระนามเต็ม


สมเด็จพระราชา ฮอนชอน ฮงโด คยองมุน วีมู แห่งเกาหลี
[แก้]พระบรมวงศานุวงศ์


พระราชบิดา: พระเจ้าซองจง (성종)
พระราชมารดา : สมเด็จพระราชินีเจฮอน ตระกูลยุน แห่งฮามาน (제헌왕후, 1445-August 16, 1482)
เมื่อองค์ชายยอนซานถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งกษัตริย์พระองค์จึงไม่ได้รับพระนามกษัตริย์พร้อมกับพระมเหสี พระสนม พระราชโอรสและธิดา
พระมเหสี
องค์หญิงพระชายามุนซอง ตระกูลชิน (거창군부인 신씨, 1472-1537)
พระสนม
อดีตพระสนม ตระกูลโจ (폐빈 조씨)
พระสนมซุกอึย ตระกูลลี (숙의 이씨)
พระสนมซุกวอน ตระกูลคิม (숙원 김씨)
พระสนมซุกยอง ตระกูลจอน (숙용 전씨)
พระสนมซุกยอง ตระกูลจาง (숙용 장녹수, ?-1506) พระนามเดิมว่า จาง นกซู ภายหลังถูกถอดจากตำแหน่งพระสนม
พระสนมซุกยอง ตระกูลอู (숙용 우씨)
พระราชโอรส
อดีตมกุฎราชกุมารแห่งโชซอน พระราชโอรสขององค์หญิงพระชายามุนซอง ตระกูลชิน
องค์ชายชางนยอง พระราชโอรสขององค์หญิงพระชายามุนซอง ตระกูลชิน
องค์ชายยางพยอง พระราชโอรสของพระสนมซุกอึย ตระกูลลี
ลี ทนซู พระราชโอรสของพระสนมซุกอึย ตระกูลลี
พระราชธิดา
องค์หญิงทนซู พระราชธิดาขององค์หญิงพระชายามุนซอง ตระกูลชิน
พระราชธิดาไม่ทราบนาม ธิดาของพระสนมซุกอึย ตระกูลลี
พระราชธิดาไม่ทราบนาม ธิดาของพระสนมซุกยอง ตระกูลจาง

เรื่องราวของพระองค์ถูกนำมาถ่ายทอดภาพยนตร์เรื่อง คิมชูชอนนั้นเอง